ประวัติความเป็นมาของดนตรี
ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆ กับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆ มนุษย์เรายังอาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ แม้ในโพรงไม้ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักการปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่า ปาก เป่าเขา เป็นต้น พร้อมกันนั้นก็มีการเปล่งเสียงร้องออกมาตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงของมนุษย์ ในยุคนั้นก็ทำไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า เพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย
ใน ระยะแรกๆ นั้นดนตรีมีอยู่เพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง เวลาผ่านไปหลายศตวรรษ จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราจึงเริ่มรู้จักใช้เสียงต่างๆ มาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายๆ เสียงขึ้นมา
ดนตรีมีธรรมชาติที่แตกต่างไปจากศิลปะแขนงอื่น ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. ดนตรีเป็นสื่อทางอารมณ์ที่สัมผัสได้ด้วยหู กล่าวคือ หูนับเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้คนเราสามารถสัมผัสกับดนตรีได้ ผู้ที่หูหนวกย่อมไม่สามารถทราบได้ว่าเสียงดนตรีนั้นเป็นอย่างไร 2. ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม กล่าวคือ กลุ่มชนต่าง ๆ จะมีวัฒนธรรมของตนเอง และวัฒนธรรมนี้เองที่ทำให้คนในกลุ่มชนนั้นมีความพอใจและซาบซึ้งในดนตรี ลักษณะหนึ่งซึ่งอาจแตกต่างไปจากคนในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คนไทยเราซึ่งเคยชินกับดนตรีไทยและดนตรีสากล เมื่อไปฟังดนตรีพื้นเมืองของอินเดียก็อาจไม่รู้สึกซาบซึ้งแต่อย่างใด แม้จะมีคนอินเดียคอยบอกเราว่าดนตรีของเขาไพเราะเพราะพริ้งมากก็ตาม เป็นต้น
3. ดนตรีเป็นเรื่องของสุนทรียศาสตร์ว่าด้วยความไพเราะ ความไพเราะของดนตรีเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถซาบซึ้งได้และเกิดขึ้นเมื่อใดก็ ได้ กับทุกคน ทุกระดับ ทุกชนชั้น ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
4. ดนตรีเป็นทั้งระบบวิชาความรู้และศิลปะในขณะเดียวกัน กล่าวคือ ความรู้เกี่ยวกับดนตรีนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเสียงและการจัดระบบเสียงให้เป็นท่วงทำนองและจังหวะ ซึ่งคนเราย่อมจะศึกษาเรียนรู้ “ความรู้ที่เกี่ยวกับดนตรี” นี้ก็ได้ โดยการท่อง จำ อ่าน ฟัง รวมทั้งการลอกเลียนจากคนอื่นหรือการคิดหาเหตุผลเอาเองได้ แต่ผู้ที่ได้เรียนรู้จะมี “ความรู้เกี่ยวกับดนตรี” ก็อาจไม่สามารถเข้าถึงความไพเราะหรือซาบซึ้งในดนตรีได้เสมอไป เพราะการเข้าถึงดนตรีเป็นเรื่องของศิลปะ เพียงแต่ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับดนตรีนั้นจะสามารถเข้าถึงความไพเราะของ ดนตรีได้ง่ายขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น