ยินดีต้อนรับสู่ บล็อคดนตรี

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติดนตรีไทย

ดนตรีไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ
ซึ่งดนตรีไทยได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะขอแบ่งยุคของดนตรีไทย เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษา ดังนี้
1. สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
2. สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
3. สมัยกรุงศรีอยุธยา
4. สมัยกรุงรัตน์โกสินทร์
สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

จากประวัติศาสตร์ไทยเดิมที่ได้อพยพมาจากแถบภูเขาอัลไต
 และอพยพเรื่อยมาจนถึงแหลมทองในปัจจุบัน และได้ปรากฏหลักฐานเป็นจดหมายของอาจารย์ที่เซี่ยงไฮซึ่งอาจารย์มนตรีตราโมท

สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

การ ดนตรีในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนับเป็นสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของ ประเทศไทย เพราะว่า เรื่องราวชนชาติไทยปรากฏหลักฐานเด่นชัดขึ้นในสมัยสุโขทัย เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในศิลา และจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยนี้ ทำให้ทราบประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างดี
     เครื่องดนตรีมีครบทั้ง 4 ประเภท อย่างเช่นสมัยปัจจุบัน คือ
เครื่องดีด ได้แก่ พิณ เป็นต้น เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ ขลุ่ย เป็นต้น
เครื่องตี ได้แก่ ระนาด ฆ้อง กลอง เป็นต้นเครื่องสี ได้แก่ ซอ เป็นต้น

 สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

 ดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนับได้ว่า มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เพราะประชาชนนิยมเล่นดนตรีกันมาก ซึ่งเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่ได้รับมาจากกรุงสุโขทัย ตลอดจนการประสมวงดนตรี และได้มีการพัฒนา คิดค้นเรื่องดนตรีเพิ่มเติม
ในรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนารถว่า     ห้ามขับร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปรากฏเครื่องดนตรีครบทุกประเภท ดังนี้
เครื่องสี ได้แก่ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง
เครื่องตีไม้ ได้แก่ กรับพวง กรับคู่ กรับเสภา ระนาดเอก
เครื่องตีโลหะ ได้แก่ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องคู่ ฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฉิ่งฉาบ
 เครื่องตีหนัง ได้แก่ ตะโพน (ทับ) โทน รำมะนา กลองทัด กลองตุ๊ก เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ใน ปี่กลาง ขลุ่ย แตรงอน 
 


 
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์


ในสมัย รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูการดนตรีไทยให้เจริญรุ่งเรือง โดยทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ให้สมบูรณ์ และดาหลัง ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีมาแต่สมัยอยุธยา วรรณคดีทั้ง 2 เรื่องนี้ ใช้นำแสดงละคร และแสดงโขน
    
ในสมัย รัชกาลที่ 5 การดนตรีไทยได้พัฒนารูปแบบเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ที่สำคัญคือ การประชันฝีมือดนตรีทำให้เกิดการพัฒนาฝีมือของนักดนตรี และเกิดการผสมวงขึ้น โดยการนำเครื่องดนตรีต่างๆ มารวมเพิ่มขึ้นในวงให้มากและเป็นการรวมนัดนตรีที่มีฝีมือเข้าด้วยกัน
จึงทำให้เพียบพร้อมไปด้วยนักดนตรีฝีมือและมีเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท ทำให้การบรรเลงมีเสียงที่ไพเราะยิ่งใน  
   การดนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระองค์ทรงโปรดการดนตรีทุกประเภท จนเป็นที่ยกย่องสรรเสริญจากชาวโลก ทั้งในและต่างประเทศอย่างท่วมท้น พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้อีกมากมาย อีกทั้งสมเด็จพระเพทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้ทรงโปรดปรานดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่งทรงบรรเลงดนตรีไทยได้ทุกชนิด ทรงใฝ่พระราชหฤทัยอย่างจริงจัง ดังที่ เสรี หวังในธรรม กล่าวว่า “ดนตรีไทยไม่สิ้นแล้ว เพราะพระทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่”