ยินดีต้อนรับสู่ บล็อคดนตรี

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์


ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง

   การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐานหากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  
   การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่ 
   การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง  ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน  
ประวัติความเป็นมาของดนตรี








ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆ กับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆ มนุษย์เรายังอาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ แม้ในโพรงไม้ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักการปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่า ปาก เป่าเขา เป็นต้น พร้อมกันนั้นก็มีการเปล่งเสียงร้องออกมาตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงของมนุษย์ ในยุคนั้นก็ทำไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า เพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย 
 ใน ระยะแรกๆ นั้นดนตรีมีอยู่เพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง เวลาผ่านไปหลายศตวรรษ จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราจึงเริ่มรู้จักใช้เสียงต่างๆ มาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายๆ เสียงขึ้นมา 
ดนตรีมีธรรมชาติที่แตกต่างไปจากศิลปะแขนงอื่น ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
         1. ดนตรีเป็นสื่อทางอารมณ์ที่สัมผัสได้ด้วยหู กล่าวคือ หูนับเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้คนเราสามารถสัมผัสกับดนตรีได้ ผู้ที่หูหนวกย่อมไม่สามารถทราบได้ว่าเสียงดนตรีนั้นเป็นอย่างไร 2. ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม กล่าวคือ กลุ่มชนต่าง ๆ จะมีวัฒนธรรมของตนเอง และวัฒนธรรมนี้เองที่ทำให้คนในกลุ่มชนนั้นมีความพอใจและซาบซึ้งในดนตรี ลักษณะหนึ่งซึ่งอาจแตกต่างไปจากคนในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คนไทยเราซึ่งเคยชินกับดนตรีไทยและดนตรีสากล เมื่อไปฟังดนตรีพื้นเมืองของอินเดียก็อาจไม่รู้สึกซาบซึ้งแต่อย่างใด แม้จะมีคนอินเดียคอยบอกเราว่าดนตรีของเขาไพเราะเพราะพริ้งมากก็ตาม เป็นต้น
3. ดนตรีเป็นเรื่องของสุนทรียศาสตร์ว่าด้วยความไพเราะ ความไพเราะของดนตรีเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถซาบซึ้งได้และเกิดขึ้นเมื่อใดก็ ได้ กับทุกคน ทุกระดับ ทุกชนชั้น ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล

 4. ดนตรีเป็นทั้งระบบวิชาความรู้และศิลปะในขณะเดียวกัน กล่าวคือ ความรู้เกี่ยวกับดนตรีนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเสียงและการจัดระบบเสียงให้เป็นท่วงทำนองและจังหวะ ซึ่งคนเราย่อมจะศึกษาเรียนรู้ “ความรู้ที่เกี่ยวกับดนตรี” นี้ก็ได้ โดยการท่อง จำ อ่าน ฟัง รวมทั้งการลอกเลียนจากคนอื่นหรือการคิดหาเหตุผลเอาเองได้ แต่ผู้ที่ได้เรียนรู้จะมี “ความรู้เกี่ยวกับดนตรี” ก็อาจไม่สามารถเข้าถึงความไพเราะหรือซาบซึ้งในดนตรีได้เสมอไป เพราะการเข้าถึงดนตรีเป็นเรื่องของศิลปะ เพียงแต่ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับดนตรีนั้นจะสามารถเข้าถึงความไพเราะของ ดนตรีได้ง่ายขึ้น
ประวัติดนตรีไทย

ดนตรีไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ
ซึ่งดนตรีไทยได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะขอแบ่งยุคของดนตรีไทย เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษา ดังนี้
1. สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
2. สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
3. สมัยกรุงศรีอยุธยา
4. สมัยกรุงรัตน์โกสินทร์
สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

จากประวัติศาสตร์ไทยเดิมที่ได้อพยพมาจากแถบภูเขาอัลไต
 และอพยพเรื่อยมาจนถึงแหลมทองในปัจจุบัน และได้ปรากฏหลักฐานเป็นจดหมายของอาจารย์ที่เซี่ยงไฮซึ่งอาจารย์มนตรีตราโมท

สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

การ ดนตรีในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนับเป็นสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของ ประเทศไทย เพราะว่า เรื่องราวชนชาติไทยปรากฏหลักฐานเด่นชัดขึ้นในสมัยสุโขทัย เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในศิลา และจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยนี้ ทำให้ทราบประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างดี
     เครื่องดนตรีมีครบทั้ง 4 ประเภท อย่างเช่นสมัยปัจจุบัน คือ
เครื่องดีด ได้แก่ พิณ เป็นต้น เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ ขลุ่ย เป็นต้น
เครื่องตี ได้แก่ ระนาด ฆ้อง กลอง เป็นต้นเครื่องสี ได้แก่ ซอ เป็นต้น

 สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

 ดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนับได้ว่า มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เพราะประชาชนนิยมเล่นดนตรีกันมาก ซึ่งเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่ได้รับมาจากกรุงสุโขทัย ตลอดจนการประสมวงดนตรี และได้มีการพัฒนา คิดค้นเรื่องดนตรีเพิ่มเติม
ในรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนารถว่า     ห้ามขับร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปรากฏเครื่องดนตรีครบทุกประเภท ดังนี้
เครื่องสี ได้แก่ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง
เครื่องตีไม้ ได้แก่ กรับพวง กรับคู่ กรับเสภา ระนาดเอก
เครื่องตีโลหะ ได้แก่ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องคู่ ฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฉิ่งฉาบ
 เครื่องตีหนัง ได้แก่ ตะโพน (ทับ) โทน รำมะนา กลองทัด กลองตุ๊ก เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ใน ปี่กลาง ขลุ่ย แตรงอน 
 


 
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์


ในสมัย รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูการดนตรีไทยให้เจริญรุ่งเรือง โดยทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ให้สมบูรณ์ และดาหลัง ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีมาแต่สมัยอยุธยา วรรณคดีทั้ง 2 เรื่องนี้ ใช้นำแสดงละคร และแสดงโขน
    
ในสมัย รัชกาลที่ 5 การดนตรีไทยได้พัฒนารูปแบบเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ที่สำคัญคือ การประชันฝีมือดนตรีทำให้เกิดการพัฒนาฝีมือของนักดนตรี และเกิดการผสมวงขึ้น โดยการนำเครื่องดนตรีต่างๆ มารวมเพิ่มขึ้นในวงให้มากและเป็นการรวมนัดนตรีที่มีฝีมือเข้าด้วยกัน
จึงทำให้เพียบพร้อมไปด้วยนักดนตรีฝีมือและมีเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท ทำให้การบรรเลงมีเสียงที่ไพเราะยิ่งใน  
   การดนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระองค์ทรงโปรดการดนตรีทุกประเภท จนเป็นที่ยกย่องสรรเสริญจากชาวโลก ทั้งในและต่างประเทศอย่างท่วมท้น พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้อีกมากมาย อีกทั้งสมเด็จพระเพทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้ทรงโปรดปรานดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่งทรงบรรเลงดนตรีไทยได้ทุกชนิด ทรงใฝ่พระราชหฤทัยอย่างจริงจัง ดังที่ เสรี หวังในธรรม กล่าวว่า “ดนตรีไทยไม่สิ้นแล้ว เพราะพระทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่”



วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

 ประวัติดนตรีสากล



ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ มีการรับรู้ เลียนแบบ ศึกษาจังหวะ ระดับเสียง ความดัง-เบา ความกลมกลืนและแตกต่างของเสียงแต่ละประเภท จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย ไปถึงเสียงจากธรรมชาติและสัตว์นานา ดนตรีสากลหรือดนตรีตะวันตกมีพื้นฐานจากความมุ่งหวังไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า จากหลักปรัชญากรีกโบราณในราวช่วงปี 800 ก่อนคริสตกาล ที่เน้นความสำคัญของการสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการเล่นกีฬา และงดงามของจิตใจด้วยศิลปะ บทกวี ดนตรี การละคร และระบำรำฟ้อน เพื่อสร้างสรรค์ให้มนุษย์สมบูรณปี 585-479 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกชื่อ ปิธากอรัส คิดค้นทฤษฎีการเกิดเสียงขึ้นจากการคำนวณรอบการสั่นสะเทือนของสายเสียง ได้ข้อสรุปว่า "ถ้าสายสั้นกว่าจะได้เสียงที่สูงกว่า ถ้าสายยาวกว่าจะได้เสียงที่ต่ำกว่า" วิชาความรู้และแนวคิดนี้กระจายแพร่หลาย ชื่อเสียงปิธากอรัสเลื่องลือทั่วยุโรปมีการจำแนกเครื่องดนตรีเป็น 5 ประเภท ดังนี้


1. เครื่องสาย-String ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส พิณ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน บาลาไลกา สืบประวัติเครื่องตระกูลไวโอลินได้ว่ากำเนิดมาจากต้นตอคือ ซอรีเบ็คและซอวิแอล ซึ่งเป็นซอโบราณในสมัยกลาง และซอลิราดาบรัชโช สมัยเรอเนซองซ์ ค.ศ.1600-1750 นับเป็นยุคทองของการประดิษฐ์ไวโอลินที่ได้รับการดัดแปลงปรับปรุงจนมีคุณภาพ สูงถึงขีดสุดยอด
 


2. เครื่องเป่าลมไม้ - Woodwind ได้แก่ ฟลุ้ต พิโคโล คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน อิงลิชฮอร์น แซ็กโซโฟน รีคอร์เดอร์ แพนไปพ์ ปี่สกอต ออร์แกน(แบบดั้งเดิม) หีบเพลงปาก ยกตัวอย่างฟลุ้ต เครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด พัฒนามาพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ แรกเริ่มทีเดียวมนุษย์ในยุคหินคงหากระดูกสัตว์หรือเขากวางเป็นท่อนกลวงหรือ ไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ วัตถุเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้
 


3. เครื่องเป่าทองเหลือง - Brass ได้แก่ ทรัมเป็ต คอร์เนท เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน ทูบา ซูซาโฟน ยูโฟเนียม ยกตัวอย่าง ทรัมเป็ต ประวัติมาไกลถึงแถบเอเชียซึ่งปรากฏหลักฐานว่าชาวจีนเคยใช้แตรที่มีลักษณะ คล้ายทรัมเป็ตมานานกว่า 4,000 ปี ขณะชาวยุโรปใช้แตรที่มีลำโพงงอเป็นขอในกองทัพ สมัยโบราณยุโรปถือว่าทรัมเป็ตเป็นของสูง ผู้ที่จะมีได้หากไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ก็เป็นนักรบชั้นแม่ทัพ
 

4. เครื่องกระทบ - Percussion ได้แก่ กลองเล็ก กลองใหญ่ กลองเทเนอร์ กลองบองโก กลองทิมปานี ไชนีส บ็อกซ์ กรับสเปน ฉาบ ไซไลโฟน ยกตัวอย่างกลองทิมปานี มีต้นกำเนิดแถวอาระเบีย ชาวอาหรับสมัยก่อนจะผูกกลอง 2 ลูกบนหลังอูฐ สำหรับตีประโคมเวลายกทัพออกศึกหรือยามเคลื่อนคาราวาน แขกมัวร์เป็นผู้นำกลองชนิดนี้เข้ายุโรป กลายพันธุ์เป็นเครื่องดนตรีสากลด้วยประการฉะนั้น
 

 
5. เครื่องลิ่มนิ้วดีด - Keyboard Instruments เครื่อง ดนตรีในกลุ่มนี้ มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด” (Keyboard Instruments) ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือ มีลิ้มนิ้วสำหรับกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี  ลิ่มนิ้วสำหรับกดนั้นนิยมเรียกว่า “คีย์” (key) เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากัน  โดยปกติสีของคีย์เป็นขาวหรือดำ  คีย์สีดำโผล่ขึ้นมามากกว่าคีย์สีขาว
ในปัจจุบันเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่เกิดเสียงโดยใช้วงจรอีเล็กทรอ นิค ได้รับความนิยมมาก เพราะสามารถเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ได้หลายชนิด ซึ่งได้พัฒนามาจากออร์แกนไฟฟ้านั่นเอง มีหลายชื่อแต่ละชื่อมีคุณลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องสตริง ( string machine) คือเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด ที่เลียนเสียงเครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินทุกชนิด  อีเล็กโทนคือเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่มีจังหวะในตัว สามารถบรรเลงเพลงต่างๆ ได้ด้วยนักดนตรีเพียงคนเดียว
ในยุคของคอมพิวเตอร์ เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดได้วิวัฒนาการไปมาก เสียงต่างๆมีมากขึ้น นอกจากเสียงดนตรีแล้วยังมีเสียงเอฟเฟ็ค  (effect) ต่างๆ ให้เลือกใช้มาก เสียงต่างๆ เหล่านี้เป็นเสียงที่สังเคราะห์ขึ้นมาด้วยระบบ อีเล็คทรอนิค ดังนั้นเครื่องดนตรีประเภทนี้จึงเรียกว่า“ซินเธไซเซอร์ ” (synthesizer)